ประเภท เฉพาะเรื่อง
ที่ตั้ง เลขที่ ๒ ถนนอรุณอมรินทร์  แขวงศิริราช
เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ ๑๐๗๐๐
โทร. ๐ ๒๔๗๕ ๕๓๖๘
โทรสาร ๐ ๒๔๗๕ ๕๓๖๙
เวลาทำการ วันราชการ  เวลา ๐๙.๐๐ น. – ๑๖.๐๐ น.
(ติดต่อล่วงหน้า)
อัตราค่าเข้าชม ไม่เก็บค่าเข้าชม
การบริหารจัดการ กรมอู่ทหารเรือ
 
 
พิพิธภัณฑ์อู่เรือหลวงเฉลิมพระเกียรติ ๘๔ พรรษา ได้รับคัดเลือกให้ได้รับรางวัลอนุรักษ์ศิลปสถาปัตยกรรมดีเด่น ประจำปี ๒๕๕๗
ประเภทอาคารสถาบันและอาคารสาธารณะ
จากสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์
 

  ขอเชิญชมนิทรรศการ “ภาพเก่าเล่าเรื่องกรมอู่ทหารเรือ”
ภาพเก่าต้นฉบับอายุมากกว่า ๑๐๐ ปี เมื่อครั้งถ่ายภาพด้วยเทคนิคการถ่ายภาพแบบใช้ฟิล์มกระจก เป็นภาพเหตุการณ์สำคัญ
และภาพกำลังพลของกรมอู่ทหารเรือที่ได้เก็บรักษาและส่งต่อกันมาจนถึงปัจจุบันนำมาจัดแสดงในรูปแบบนิทรรศการภาพถ่าย

 
ภาพกิจกรรม
 

หลักสูตรนายทหารใหม่พรรคลิน
เมื่อวันที่ ๒๑ เม.ย.๕๗

บุคคลทั่วไป
เมื่อวันที่ ๔ เม.ย.๕๗

รร.จิตรลดา(วิชาชีพ)
เมื่อวันที่ ๑๗ มี.ค.๕๗

     
อาจารย์มหาวิยาลัยเทคโโนโลยีอีสาน
เมื่อวันที่ ๑๓ มี.ค.๕๗
รร.ศรียานุสรณ์ จังหวัดจันทบุรี
เมื่อวันที่ ๓ มี.ค.๕๗
หลักสตรอาชีพเพื่อเลื่อนฐานะ ศูนย์พัฒนาอาชีพช่าง
เมื่อวันที่ ๒๔ ก.พ.๕๗
     
หลักสูตรอาชีพเพื่อเลื่อนฐานะ กรมอุทกศาตร์
เมื่อวันที่ ๑๙ ก.พ.๕๗
หลักสูตรอาชีพเพื่อเลื่อนฐานะ โรงเรียนสารบรรณทหารเรือ
เมื่อวันที่ ๑๓ ก.พ.๕๗
หลักสูตรอาชีพเพื่อเลื่อนฐานะชั้น จ.อ.
เมื่อวันที่ ๖ ม.ค.๕๗
     
    กิจกรรมที่ผ่านมา...

 
ลักษณะทางกายภาพ

อาคารเดี่ยว ๒ ชั้น รูปแบบสถาปัตยกรรมแบบขนมปังขิง สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นใน รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
เมื่อครั้งพระราชทานพื้นที่ให้กรมทหารเรือ (กองทัพเรือ)  เพื่อสร้างโรงงานกรมอู่หลวงและสถานที่ทำการของกรมทหารเรือ

 

 

 
 
 
นิทรรศการ

         ชั้นบน จัดแสดงประวัติศาสตร์ของพื้นที่ก่อนการสร้างอู่เรือหลวง  ความสำคัญของงานอู่เรือกับการปกป้องอธิปไตยของชาติทางทะเล พัฒนาการของอู่เรือหลวง  ความจำเป็นของการมีอู่เรือขนาดใหญ่ พระมหากรุณาธิคุณและพระปรีชาสามารถของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ด้านการต่อเรือ ตั้งแต่ทรงออกแบบเรือใบมด  ซูเปอร์มด  ไมโครมด และทรงงานต่อเรือใบด้วยพระองค์เอง แนวพระราชดำริที่พระราชทาน
ให้กองทัพเรือต่อเรือรบได้เอง ซึ่งนำไปสู่โครงการสร้างเรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่ง ชุดเรือ ต.๙๑ เรือตรวจการณ์ใกล้ฝั่งเฉลิมพระเกียรติ  
ชุดเรือ ต.๙๙๑ และ ชุดเรือ ต.๙๙๔  กระบวนการต่อเรือรบ วิทยาการ และเทคโนโลยีการต่อเรือตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
การต่อเรือพระที่นั่งนารายณ์ทรงสุบรรณ รัชกาลที่ ๙ การอนุรักษ์และซ่อมเรือพระราชพิธี  

     
จุดลงนามถวายพระพร
ส่วนจัดแสดงจากราชนิเวศน์สู่อู่เรือหลวง
ส่วนจัดแสดงจากอู่เรือหลวงสู่กรมอู่ทหารเรือ
     
ส่วนจัดแสดงพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
กับงานนาวาสถาปัตย์
เรือจำลอง เรือ ต.๙๙๑
ขวานที่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ
ทรงใช้ในพิธีปล่อยเรือ ต.๙๙๑ ลงน้ำ
 
 

          ชั้นล่าง จัดแสดงกระบวนการซ่อมทำเรือรบ ผลงานการซ่อมทำเรือที่สำคัญ ผลงานทางช่างของช่างฝีมือกรมอู่ทหารเรือ
เพื่อประเทศชาติและประชาชน  ความสำคัญของกิจการอู่เรือ และอุตสาหกรรมต่อเรือทางด้านสังคม
เศรษฐกิจ การเมือง และอธิปไตยของชาติทางทะเล

เครื่องทดสอบโลหะ รับไว้ใช้ในราชการ
เมื่อ ๑๖ กรกฎาคม พ.ศ.๒๔๗๙
ส่วนจัดแสดงทำเรือให้พร้อมรบ ผลงานวิจัยยานใต้น้ำวิชุดา
และเป้าฝึกปราบเรือดำน้ำ
     
เครื่องวัดกำลังแรงดึง เตาเผาหมุดย้ำ นิทรรศการกลางแจ้ง
     
การจัดแสดงภายในพิพิธภัณฑ์เป็นการเล่าเรื่องที่ต่อเนื่องกันผ่านวัตถุ  สิ่งของ อุปกรณ์สำคัญในพิธีวางกระดูกงูเรือและพิธีปล่อยเรือลงน้ำ
เครื่องจักรกล และเครื่องมือช่างที่ใช้ในการซ่อมสร้างเรือรวมทั้งเอกสารหลักฐานอันทรงคุณค่าทางประวัติศาสตร์
ซึ่งข้าราชการและช่างของกรมอู่ทหารเรือได้ร่วมกันอนุรักษ์และรักษาไว้เป็นอย่างดี

"นอกจากผู้ชมจะได้ความรู้แล้ว ยังได้รับความเพลิดเพลินจากสื่อผสมและวิธีการนำเสนอที่ทันสมัยในบรรยากาศของพิพิธภัณฑ์ที่มีชีวิตอีกด้วย"