มาตรฐาน 5ส ของ อร.

1. มาตรฐานการจัดทำป้ายบ่งชี้

ขนาดมาตรฐานของป้ายบ่งชี้ ให้จัดทำเป็นมาตรฐานขนาดต่าง ๆ เพื่อนำมาใช้ในพื้นที่สำนักงานดังนี้

1. 1 ขนาด 1.5 x 7.5 ซม. ตัวอักษรภาษาไทยแบบ ANGSANA NEW ขนาด 20 PT. มีกรอบล้อมรอบ

1.2 ขนาด 2 x 7 ซม. ตัวอักษรภาษาไทยแบบ ANGSANA NEW ขนาด 20 PT. มีกรอบล้อมรอบ

1.3 ขนาด 2.5 x 12 ซม. ตัวอักษรภาษาไทยแบบ ANGSANA NEW ขนาด 20 PT. มีกรอบล้อมรอบ

1.4 ขนาด 1 x 7 ซม. ตัวอักษรภาษาไทยแบบ ANGSANA NEW ขนาด 20 PT. มีกรอบล้อมรอบ

 

1.5 ขนาด 2 x 6 ซม. ตัวอักษรภาษาไทยแบบ ANGSANA NEW ขนาด 20 PT. มีกรอบล้อมรอบ

1.6 ขนาด 1 x ความเหมาะสม ตัวอักษรภาษาไทยแบบ ANGSANA NEW ขนาด 16 PT. มีกรอบล้อมรอบ

1.7 ขนาด 4.5 x ความเหมาะสม ตัวอักษรภาษาไทยแบบ ANGSANA NEW ขนาด 16 PT. มีกรอบล้อมรอบ

2. พื้นที่ปฏิบัติงานประเภทสำนักงาน

2.1 มาตรฐานป้ายบ่งชี้ เครื่องใช้สำนักงาน            2.1.1 โต๊ะทำงาน
                      - ลิ้นชัก
                                 - ลิ้นชักที่ 1 (ขวามือ) ข้อความ : เครื่องใช้สำนักงานและเอกสาร : เครื่องใช้สำนักงาน
                                 - ลิ้นชักที่ 2 (ขวามือ) ข้อความ : ของใช้ส่วนตัว : ของใช้ส่วนตัวและเอกสาร
                                 - ลิ้นชักอื่นๆ ที่เหลือขอให้กำหนดเอง เช่น : เอกสาร หรือ ของใช้ส่วนตัว

** ทั้งหมดจะต้องทำป้ายขนาดมาตรฐานตามข้อ 1.1

- จุดที่ติดตั้งป้ายบ่งชี้

      - โต๊ะซึ่งมี 2 ลิ้นชัก ติดขวามือบนสุด

      - โต๊ะที่มีลิ้นชัก 2 ข้าง

- ป้ายชื่อเจ้าของโต๊ะ
      ติดไว้ด้านหน้ามุมขวาสุดของอขอบโต๊ะ หากมีความจำเป็นอนุโลมให้ติดไว้ด้านซ้ายสุด แต่ต้องเหมือนกันทั้งห้อง โดยระบุชื่อเป็นภาษาไทย กำหนดความกว้างเท่ากับขอบโต๊ะ ความยาวตามความเหมาะสมของชื่อ ตัวอักษรให้อยู่กึ่งกลางของกระดาษ

2.1.2 โต๊ะว่างในพื้นที่ทำงาน - ให้ระบุวัตถุประสงค์ในการใช้งานและติดชื่อผู้รับผิดชอบ ความกว้างเท่าขอบโต๊ะ ความยาวตามความ เหมาะสม
- ตำแหน่งติดป้ายบ่งชี้ ด้านหน้ามุมขวาของโต๊ะ

2.1.3 เก้าอี้

- ด้านหลังพนักพิงเก้าอี้ ให้ติดป้ายชื่อเจ้าของเก้าอี้ โดยติดเหนือตัวปรับสูงต่ำของพนักพิง

- เก้าอี้แบบอื่น ๆ ให้พิจารณาติดในตำแหน่งที่เหมาะสม

- ป้ายชื่อให้ระบุเป็นภาษาไทย ตามมาตรฐาน ข้อ 1.2

2.1.4 ตู้เอกสาร

- ป้ายบ่งชี้หน้าตู้เอกสาร

- ขนาดของกรอบทั้งหมด ตามมาตรฐานข้อ 1.3

- ขนาดของกรอบลำดับตู้ กว้าง 2.5 ซม. ยาว 2.5 ซม.

- ขนาดของกรอบคำว่า “ผู้รับผิดชอบ” กว้าง 1 ซม. ยาว 9.5 ซม.

- ขนาดของกรอบชื่อผู้รับผิดชอบ กว้าง 1.5 ซม. ยาว 9.5 ซม.

2.1.5 เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องพิมพ์ เครื่องพิมพ์ดีด เครื่องโทรสาร เครื่องถ่ายเอกสาร เครื่องย่อยกระดาษ

- ขนาดป้ายบ่งชี้ ตามมาตรฐานข้อ 1.5 ใช้กระดาษสีตามความเหมาะสม

2.1.6 ถาดอุปกรณ์เครื่องใช้สำนักงาน

- ขนาดมาตรฐานป้ายบ่งชี้ตามข้อ 1.6

- ตำแหน่งติดป้ายบ่งชี้ ควรเป็นกึ่งกลางด้านล่างของแต่ละช่องที่ใส่อุปกรณ์

2.2 ข้อปฏิบัติและข้อห้าม สำหรับเครื่องใช้สำนักงาน

2.2.1 โต๊ะทำงาน

- โต๊ะที่มีกระจก

- ภายใต้กระจกห้ามมีรูปภาพทุกชนิด

- มีได้เฉพาะเอกสารที่เกี่ยวข้องกับงานและต้องเป็นปัจจุบัน

- มีกระดาษข้อความขนาด A4 ได้ไม่เกิน 4 ใบ จัดเรียงลำดับจากซ้ายไปขวาให้เรียบร้อย

- บนโต๊ะ

É โทรศัพท์ ติดหมายเลขภายในหรือภายนอกสายตรงไว้ที่เครื่องให้เห็นชัดเจนเป็นสติกเกอร์สีเขียว

หมายเลขภายใน ทร. หมายเลขขององค์การโทรศัพท์

* ตำแหน่งวางโทรศัพท์ มุมบนด้านซ้ายสุด ยกเว้น

- โทรศัพท์ใช้ร่วมกัน

- โต๊ะอื่น ๆ ที่ไม่ใช่โต๊ะทำงาน

- ตำแหน่งที่กำหนดไว้ไม่เหมาะสม

* สายโทรศัพท์ต้องจัดเก็บให้อยู่ในสภาพเรียบร้อย

* ปฏิทิน : ตำแหน่งวางมุมบนขวาสุด

* เครื่องคอมพิวเตอร์ : ตำแหน่งตามความเหมาะสม และต้องเป็นตำแหน่งเดียวกันทั้งห้อง

: สายไฟ สายคอมพิวเตอร์ และเครื่องพิมพ์ ต้องเก็บให้อยู่ในสภาพเรียบร้อย

: ป้ายบ่งชื่อผู้รับผิดชอบ ตามมาตรฐานข้อ 1.5

- ห้ามวางโต๊ะที่ไม่ได้ใช้งานประจำในสถานที่ทำงาน

- ต้องเช็ดทำความสะอาดทุกเช้า

- ของในลิ้นชักต้องวางให้เป็นระเบียบ

- ห้ามวางของใต้โต๊ะ

- หลังเลิกงาน ห้ามวางของอื่นใดบนโต๊ะ นอกจากโทรศัพท์ ปฏิทินตั้งโต๊ะและแก้วน้ำ

- เวลาลุกออกจากที่นั่ง ต้องจัดของบนโต๊ะให้เรียบร้อย

- ทุกสัปดาห์ ต้องจัดของในลิ้นชักให้เป็นระเบียบเรียบร้อย ไม่วางพวกเอกสารกองไว้บนโต๊ะ

- ในลิ้นชักต้องวางของที่จะใช้ประจำเท่านั้น

- ห้ามวางของยื่นออกจากขอบโต๊ะ

- ห้ามตัด แปะ หรือแขวนสิ่งของบนโต๊ะ ข้างโต๊ะ

- มีการทำความสะอาดใต้โต๊ะและรอบ ๆ โต๊ะ

- ใต้โต๊ะ

- จะต้องไม่มีแฟ้มเอกสารหรือสิ่งของต่าง ๆ วางอยู่ เช่น ถุงใส่ของ กล่อง อุปกรณ์ ภาชนะต่าง ๆ

รองเท้าสำรอง

- อนุญาตให้มีกระเป๋าเอกสารที่ใช้ในการทำงานวางไว้ด้านในใต้โต๊ะด้านซ้าย

2.2.2 เก้าอี้

- ต้องไม่มีสิ่งของวาง/พาดอยู่ เช่น เสื้อกันหนาว กระเป๋าสะพาย กล้องถ่ายรูป เอกสาร ฯลฯ

- เลื่อนเก้าอี้ไว้ใต้โต๊ะทุกครั้งที่ลุกออกจากที่นั่ง เพื่อไม่ให้ขวางทางเดิน

- บำรุงรักษาสภาพเก้าอี้ไม่ให้เกิดเสียงดัง และอยู่ในสภาพเรียบร้อย

- หลังเลิกงานห้ามวางเอกสารไว้บนเก้าอี้

2.2.3 ถาดอุปกรณ์เครื่องใช้สำนักงาน

ตัวอย่างถาดอุปกรณ์เครื่องใช้สำนักงาน

มาตรฐานอุปกรณ์เครื่องเขียน

ลำดับที่

รายการ

จำนวน

ควรมีในโต๊ะ

มีในส่วนกลาง

หมายเหตุ

1

ยางลบดินสอ

1

Ö

   

2

ยางลบหมึก

1

Ö

   

3

ลิควิด / เทปลบคำผิด

1

Ö

   

4

ปากกาลูกลื่น (ดำ แดง น้ำเงิน) อย่างละ 1 ด้าม

3

Ö

 

อย่างใดอย่างหนึ่ง

5

ปากกายูนิบอล (ดำ แดง น้ำเงิน) อย่างละ 1 ด้าม

3

Ö

 

อย่างใดอย่างหนึ่ง

6

ปากกาไวท์บอร์ด (ดำ แดง น้ำเงิน) อย่างละ 1 ด้าม

3

 

Ö

 

7

ปากกาเน้นข้อความ

1

Ö

 

สีละ 1 ด้าม

8

ปากกาดินสอ

1

Ö

   

9

ไส้ดินสอ

1

Ö

   

10

สก็อตเทปใส่ม้วนใหญ่

1

 

Ö

 

11

กาว UHU

1

 

Ö

 

12

กระดาษกาว 2 หน้า

     

จำเป็นให้เบิก

13

Staple เล็ก

1

Ö

   

14

Staple ใหญ่

1

 

Ö

 

15

กระสุน MAX เล็ก / ใหญ่

1

Ö

Ö

 

16

ที่ดึง MAX

     

หน่วยพิจารณา

17

แป้นหมึกประทับตรา / น้ำหมึก

1

 

Ö

 

 

18

คลิปหนีบกระดาษ No.1

1

Ö

   

19

คลิปหนีบกระดาษ No.2

1

 

Ö

 

20

Post It เล็ก / ใหญ่

1

Ö

   

21

Cutter / ใบมีด / กรรไกร / ตาไก่

1

Ö

   

22

ไม้บรรทัด

1

Ö

   

23

เครื่องคิดเลข

1

Ö

 

หน่วยพิจารณา

24

ที่เจาะกระดาษ

     

หน่วยพิจารณา

25

อุปกรณ์อื่น ๆ ที่เหมาะสม

     

หน่วยพิจารณา

2.2.4 ตู้เอกสาร

- ตัวอักษรหน้าตู้ทั้งหมดให้ใช้ตัวทึบ (Bold)

- ลำดับตู้ใช้ตัวอักษร Angsana New ขนาด 50 Pt. เริ่มต้นจาก ก. ไก่

- ข้อความในกรอบคำว่า “ผู้รับผิดชอบ” ให้ใช้ตัวอักษร Angsana New ขนาด 14 Pt.

- ขนาดของกรอบชื่อผู้รับผิดชอบ ให้ใช้ขนาดตามความเหมาะสม

 

- ติดป้ายบ่งชี้ที่มุมบนด้านซ้าย

- ตู้เอกสารชนิดตู้ยืน มีลิ้นชัก นอกจากต้องระบุลำดับที่ลิ้นชัก (1,2,3…) แล้วให้ระบุชื่อแฟ้มเรียงตามลำดับ เรียงไว้ที่ด้านซ้ายของลิ้นชัก

                    - ปิดตู้ทุกครั้ง

- ภายในตู้ต้องไม่มีอาหารเก็บ

 

- เขียนบอกสิ่งที่อยู่ข้างใน แสดงไว้ที่ด้านหน้าให้ชัดเจน

- ภายในลิ้นชักแบ่งแยกตามเนื้อหา และแบ่งย่อยตามระดับการใช้

- เขียนรายละเอียดของแฟ้ม แสดงไว้ด้านหน้าปกหน้า เพื่อให้เข้าใจง่าย

- จัดระเบียบภายในตู้เอกสารให้เรียบร้อย 6 เดือน ต่อครั้ง

- เช็ดทำความสะอาดและจัดให้อยู่ในตำแหน่งที่กำหนด

- ห้ามวางสิ่งของอื่นใดนอกเหนือที่ได้กำหนดไว้บนหลังตู้

- ห้ามแปะ ติด ปฏิทิน โปสเตอร์ ฯ ไว้ด้านนอกของชั้น/ตู้

- ห้ามเปิดประตู ลิ้นชัก ฯ ของตู้เอกสารทิ้งไว้

- กำหนดผู้รับผิดชอบดูแลตู้เอกสาร/ตู้เก็บอุปกรณ์สำนักงาน และติดชื่อผู้รับผิดชอบให้ชัดเจน

ด้านหน้าขวา

- ตู้เอกสารชนิดบานทึบ ต้องติดป้ายแสดงรายการของเอกสารหรืออุปกรณ์ไว้หน้าตู้

- เอกสารหรืออุปกรณ์ภายในตู้มีการสะสางและทำความสะอาดเป็นประจำทุกเดือน

- แฟ้มเอกสารภายในตู้ สันแฟ้มมีชื่อบอกชัดเจน จัดเป็นประเภท หมวดหมู่ เรียงตามลำดับ และจัดทำรหัสตู้ รหัสแฟ้มกำกับด้วย

 

2.2.5 เครื่องคอมพิวเตอร์ เครื่องพิมพ์ เครื่องพิมพ์ดีด เครื่องโทรสาร เครื่องถ่ายเอกสาร เครื่องย่อยกระดาษ

- จะต้องระบุชื่อผู้รับผิดชอบที่มุมบนด้านขวาหรือด้านซ้าย

- หลังการใช้งานจะต้องจัดเก็บและทำความสะอาดทุกครั้ง

2.3 มาตรฐานป้ายบ่งชี้ และข้อปฏิบัติ สำหรับเครื่องใช้และอุปกรณ์สำนักงานอื่น ๆ

2.3.1 เครื่องใช้สำนักงานส่วนกลาง

- จะต้องระบุชื่อผู้รับผิดชอบ และติดในตำแหน่งที่เหมาะสม สามารถมองเห็นได้ชัดเจน

- ขนาดป้ายบ่งชี้ ชื่อผู้รับผิดชอบ ตามมาตรฐานข้อ 1.2 ใช้กระดาษสีตามความเหมาะสม

- ขนาดป้ายบ่งชี้ เครื่องใช้สำนักงาน ตามมาตรฐานข้อ 1.6 ใช้กระดาษสีตามความเหมาะสม

- หลังการใช้งานจะต้องจัดเก็บให้เรียบร้อย

2.3.2 บอร์ด / ที่ปิดประกาศ

- บอร์ดที่ติดผนัง และบอร์ดเคลื่อนที่ได้จะต้องติดป้ายชื่อผู้รับผิดชอบ มุมบนด้านซ้าย

- ข่าวสารที่ติดจะต้องเป็นข่าวสารที่ทันสมัยอยู่เสมอ

- ไวท์บอร์ดจะต้องลบและปิดสวิตท์ทุกครั้งหลังใช้งาน

- บอร์ดที่เคลื่อนที่ได้จะต้องกำหนดตำแหน่งที่ไว้อย่างชัดเจน ด้วยสติกเกอร์สีเหลือง

- กรณีเคลื่อนที่บอร์ดไปจากที่เดิมจะต้องนำเข้าที่ทุกครั้งเมื่อเลิกใช้

- เมื่อใช้งานเสร็จแล้วทุกครั้ง ควรเก็บปากกาและแปรงลบกระดานให้เรียบร้อยทุกครั้ง

- ไม่ทิ้งบอร์ดไว้อยู่ในสภาพที่ติดของแสดง/โชว์ (หมดความจำเป็น/เลิกใช้แล้ว)

2.3.3 ถังขยะ

- ป้ายติดถังขยะ ขนาดป้ายบ่งชี้ ความกว้าง และความยาว ตามความเหมาะสมกับขนาดถังขยะ

- การจัดวางถังถังขยะควรจัดวางในที่ที่เเหมาะสมและตีกรอบเพื่อป้องกันการเคลื่อนย้าย

2.3.4 ถังดับเพลิง

- ขนาดป้ายบ่งชี้ ตามมาตรฐานข้อ 1.7

2.3.5 ตู้ยา

- จะต้องมีการติดป้ายบ่งชี้ให้มองเห็นอย่างชัดเจน

- จะต้องมีป้ายชื่อผู้รับผิดชอบ

- ต้องมีการตรวจสอบอายุของยา ปริมาณของยาอยู่เสมอ

- ต้องมีการทำสัญลักษณ์ให้มองเห็นอย่างชัดเจน โดยใช้สติกเกอร์สีเหลืองคาดแดง

2.3.6 หนังสือพิมพ์ / วารสาร

- จะต้องมีการกำหนดพื้นที่ในการจัดเก็บให้ชัดเจน

- มีการติดป้ายบ่งชี้ให้มองเห็นอย่างชัดเจน ตามขนาดมาตรฐานข้อ 1.2

- หนังสือพิมพ์และวารสารที่วางอยู่จะต้องไม่เกิน 3 วัน

2.3.7 เครื่องรับโทรทัศน์

- จะต้องมีการกำหนดพื้นที่วางให้ชัดเจน เหมาะสม และต้องมีป้ายผู้รับผิดขอบ

- การเปิดให้เปิดได้เฉพาะเวลาพัก (1130 – 1300) หรือเมื่อมีเหตุ/ข่าวสำคัญ หรือติดตามเหตุ/ข่าวสำคัญ

2.3.8 ต้นไม้

- จะต้องมีการดูแลทำความสะอาดต้นไม้ให้ดูสวยงามตลอดเวลา

- จะต้องมีการกำหนดตำแหน่งที่ตั้งอย่างชัดเจน

2.3.9 โรงอาหาร / โรงเลี้ยง

- มีป้ายบ่งชี้ห้องและชื่อผู้รับผิดชอบขนาดตามความเหมาะสมติดไว้ในที่ซึ่งสามารถเห็นได้ชัดเจน

- พื้น เพดาน ผนัง สะอาด ปราศจากฝุ่น หยักไย่

- มีอากาศถ่ายเทได้สะดวกและมีแสว่างโดยธรรมชาติ มีระบบระบายอากาศที่เพียงพอ

- มีสถานที่ล้างมือ ก่อนรับประทานอาหาร

- อ่างล้าง อุปกรณ์ และภาชนะที่ใช้กับอาหาร ต้องมีขนาดใหญ่เพียงพอ และสูงจากพื้นไม่น้อยกว่า 60 ซม.

- ใช้น้ำยาล้างจาน ไม่ควรใช้ผงซักฟอก

- ผึ่งแดดและทำให้แห้ง มีตะแกรงคว่ำจาน ชาม ที่สะอาด ปราศจากแมลงรบกวน

ลักษณะการเก็บ

- ช้อน ซ่อม หรือตะเกียบ ให้เก็บในตะกร้าสูงโปร่ง ให้ส่วนที่เป็นด้ามอยู่ด้านบน

- จาน ชาม หรือแก้ว ให้คว่ำในตะแกรงที่สะอาด

- โต๊ะอาหารและเก้าอี้ ทำความสะอาดทุกครั้งหลังใช้งาน

- ห้องน้ำ ห้องส้วม ต้องสะอาด พื้นแห้ง มีสบู่เหลวสำหรับล้างมือ

2.3.10 ห้องเมส

- มีป้ายบ่งชี้ห้องและชื่อผู้รับผิดชอบขนาดตามความเหมาะสมติดไว้ในที่ซึ่งสามารถเห็นได้ชัดเจน

- พื้น ผนัง เพดาน สะอาด ปราศจาก ฝุ่น หยากไย่ ทำความสะอาดทุกวัน และทุกครั้งหลังมีการใช้สถานที่

- อากาศถ่ายเทได้สะดวก ถ้าเป็นห้องปรับอากาศต้องมีการตรวจเช็คสภาพเครื่องปรับอากาศตามกำหนด

- งดสูบบุหรี่ในห้อง (จัดสถานที่สูบบุหรี่ไว้นอกห้อง พร้อมที่เขี่ยบุหรี่)

- ทำความสะอาดห้องเตรียมอาหารทุกวันหรือทุกครั้งหลังใช้งาน

- มีตู้เก็บ จาน ชาม ช้อน ที่สะอาด เพื่อป้องกันฝุ่นและแมลง

- ถังขยะควรแยกขยะเปียก ขยะแห้ง และมีฝาปิด

- โต๊ะอาหารและเก้าอี้ ทำความสะอาดทุกวันและทุกครั้งหลังใช้งาน

- มีอ่างล้างมือและสบู่เหลวสำหรับล้างมือตลอดเวลา

- ผ้าเช็ดมือเปลี่ยนทุกวันหรือถ้าจำเป็น

- มีกระดาษเช็ดปากวางประจำโต๊ะอาหารทุกโต๊ะ ไม้จิ้มฟันควรอยู่ในกล่องที่มีฝาปิด ไม่แบ่งแยกออกมา

2.3.11 ร้านสวัสดิการ / สโมสร

- ต้องมีป้ายบ่งชี้ห้องและชื่อผู้รับผิดชอบขนาดตามความเหมาะสมติดไว้ในที่ซึ่งสามารถเห็นได้ชัดเจน

- พื้น ผนัง เพดาน ต้องสะอาด ปราศจากฝุ่น หยากไย่ และแมลง ทำความสะอาดทุกวัน อากาศถ่ายเทสะดวก

- ผลิตภัณฑ์ที่จำหน่าย มีการจัดเก็บและจัดวางเรียบร้อย มีวิธีการป้องกันมด และแมลง

- ทำความสะอาดตู้และสถานที่ ที่เก็บผลิตภัณฑ์ที่จำหน่ายทุกวัน

- มีการตรวจสภาพของให้อยู่ในสภาพเรียบร้อยก่อนนำมาจำหน่าย ตรวจวันผลิตและวันหมดอายุ

เมื่อรับของมาจำหน่ายทุกครั้ง

- ไม่จำหน่ายสินค้าหรือของที่หมดอายุ

2.3.12 ที่เขี่ยบุหรี่

- หลังเลิกงานต้องนำขี้บุหรี่ไปทิ้งในถังที่ถูกกำหนดไว้ แล้วนำกลับไปเก็บในที่จำเป็น

- ห้ามทิ้งของอื่นที่นอกเหนือจากขี้บุหรี่ลงในที่เขี่ยบุหรี่

- ห้ามทิ้งขี้บุหรี่ลงในถังขยะทั่วไปเด็ดขาด ระวังอย่าให้ที่เขี่ยบุหรี่มีขี้บุหรี่จนเต็ม

- เวลาที่ลุกออกจากที่นั่ง ต้องระวังอย่าให้มีไฟค้างในที่เขี่ยบุหรี่

- ก่อนนำไปเก็บในที่จัดเก็บ ต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่าไม่มีไฟติดค้างอยู่

- เวลาทิ้งเศษบุหรี่ลงในที่เขี่ยบุหรี่ ต้องแน่ใจว่าไฟดับสนิทแล้ว

3. พื้นที่ปฏิบัติงานประเภทงานบริการ

3.1 ห้องประชุม / ห้องรับแขก

- จะต้องจัดทำตารางการใช้ห้องประชุมโดยระบุรายละเอียดดังต่อไปนี้

หน่วยงาน / ชื่อผู้ใช้ วันและเวลาที่ใช้

- เวลาที่ใช้ ต้องแสดง “กำลังใช้อยู่” ทุกครั้ง

- หลังจากใช้ห้องประชุมและห้องรับแขกทุกครั้ง จะต้องจัดเก็บ เก้าอี้ อุปกรณ์ ให้อยู่ในสภาพเรียบร้อย และ

ปิดไฟก่อนออกจากห้องทุกครั้ง โดยให้แสดงป้าย “ห้องว่าง”

3.2 ห้องพยาบาล

- มีป้ายบ่งชี้ห้องและชื่อผู้รับผิดชอบขนาดตามความเหมาะสมติดไว้ในที่ซึ่งสามารถเห็นได้ชัดเจน

- พื้น ผนัง เพดาน ปราศจากฝุ่น หยากไย่ และฝุ่น ทำความสะอาดทุกวัน อากาศถ่ายเทได้สะดวก

- เตียงสะอาด ปราศจากฝุ่น เช็ดด้วยน้ำสบู่ หรือน้ำยาทำความสะอาดทุกวัน

- ผ้าปูที่นอนสะอาด เปลี่ยนทุกวัน ที่นอนต้องนำไปปัดฝุ่นและตากแดดทุก 1 –2 สัปดาห์

- ตู้ยาและอุปกรณ์ทางการแพทย์ ต้องทำความสะอาดตามหลักการทางการแพทย์และมีการตรวจสอบ

สภาพให้ใช้การได้อยู่เสมอ

- ยา มีการตรวจสภาพ วันที่ผลิต และวันหมดอายุทุกสัปดาห์ ยาที่หมดอายุให้จัดทิ้งไป

- ถังขยะ ต้องแยกขยะติดเชื้อให้ชัดเจน และมีฝาปิด

- อ่างล้างมือ ต้องมีสบู่เหลวสำหรับล้างมือตลอดเวลา ผ้าเช็ดมือต้องเปลี่ยนทุกวันหรือเมื่อจำเป็น

3.3 ห้องน้ำ

- ต้องมีป้ายบ่งชี้ห้องและชื่อผู้รับผิดชอบขนาดตามความเหมาะสมติดไว้ในที่ซึ่งสามารถเห็นได้ชัดเจน

- ปิดไฟ ปิดพัดลมทุกครั้งหลังใช้งาน

- ไม่วางของอื่นที่นอกเหนือจากของใช้ในห้องน้ำไว้ในชั้น

- ดูแลและรักษาความสะอาดของส่วนรวม ห้ามสูบบุหรี่

- ห้ามขีดเขียน หรือทำสกปรกบนฝาผนังหรือพื้นห้องน้ำ ห้ามเปิดน้ำทิ้งไว้

- ไม่ทิ้งแกนกระดาษหรือขยะต่าง ๆ ไว้ในห้องน้ำ นอกจากจะมีที่ใส่ขยะจัดไว้ให้

3.4 ห้องกาแฟ

- ต้องมีป้ายบ่งชี้ห้องและชื่อผู้รับผิดชอบขนาดตามความเหมาะสมติดไว้ในที่ซึ่งสามารถเห็นได้ชัดเจน

- หลังใช้งานเครื่องใช้ต่าง ๆ เช่น กาน้ำต้องนำกลับมาไว้ในตำแหน่งเดิม

- ห้ามนำถ้วย ชาม ส่วนตัวเข้ามาภายในห้อง

- เศษขยะ เช่น กากชา ต้องทิ้งในภาชนะที่กำหนด

- ดูแลรักษาชั้นวางของให้เรียบร้อยอยู่เสมอ

- ก๊อกน้ำ ต้องรักษาความสะอาดไว้อยู่เสมอ

- ถ้วย ชามที่ใช้เสร็จแล้ว ให้ล้างและนำกลับไปไว้ที่เดิม

3.5 ห้องพักในที่ทำงาน

- ต้องมีป้ายบ่งชี้ห้องและชื่อผู้รับผิดชอบขนาดตามความเหมาะสมติดไว้ในที่ซึ่งสามารถเห็นได้ชัดเจน

- กระป๋อง ถ้วยกระดาษ ต้องทิ้งเศษน้ำให้หมดก่อน จึงนำไปทิ้งในถังขยะที่กำหนดไว้

- หลังจากใช้ที่เขี่ยบุหรี่แล้ว ต้องนำไปทิ้งในถังที่กำหนดไว้ และนำกลับไปเก็บในที่จัดเก็บ

- หลังจากเคลื่อนย้ายโต๊ะ เก้าอี้ ใช้งานเสร็จแล้ว ต้องนำกลับไปไว้ในตำแหน่งเดิม

- ปิดสวิทซ์ไฟ แอร์ พัดลมระบายอากาศ หลังจากใช้งาน

- เน้นย้ำทุกคนให้รักษาระเบียบและรักษาความสะอาดอยู่เสมอ

- รักษามารยาทที่ดีในการใช้ห้องพัก โดยไม่สร้างความรำคาญหรือรบกวนผู้อื่น

4. พื้นที่ปฏิบัติงานประเภทโรงงาน

4.1 ทุกหน่วยงานจัดทำบอร์ดรายชื่อของข้าราชการและลูกจ้างในหน่วย เพื่อการสื่อสารที่ดีและการควบคุมอัตราการมาทำงานของข้าราชการและลูกจ้าง ทุกหน่วยงานมีป้ายแจ้งการมาทำงาน ไม่มาทำงาน ลาพักร้อน ลาป่วย อุบัติเหตุ โดยหัวหน้างานหรือผู้รับผิดชอบเป็นผู้ดำเนินการทุกเช้าเมื่อเริ่มทำงานแล้ว

4.2 ทุกหน่วยงานที่มีโรงงาน ให้เวลาข้าราชการและลูกจ้างทำความสะอาด 5 - 10 นาทีทุกวัน

(จะเป็นเวลาเช้าหรือเย็นขึ้นอยู่กับแต่ละโรงงานแต่ละฝ่ายหรือแผนกพิจารณาตามความเหมาะสม)

 

4.3 พื้นที่บริเวณทำงาน (เน้นสะอาดเป็นระเบียบ) โดยกำหนดเป็นสีต่าง ๆ ดังนี้

- พื้นที่บริเวณทำงาน หรือ เก็บวางสิ่งของ สีเขียว

- พื้นที่ทางเดินหรือทางรถวิ่ง สีน้ำตาล

- ตีเส้นทางเดิน ทางรถวิ่ง สีเหลือง (กว้าง 15 ซ.ม.)

- ตีเส้นกำหนดที่วางสิ่งของ สีขาว (กว้าง 6 ซ.ม.)

เช่น ที่วางแผ่นรองสำหรับยกของ, สินค้าระหว่างผลิตชิ้นส่วน, แผ่นรองสำหรับทิ้งของเสีย,

ที่วางถังดับเพลิง, ถังขยะ, ตู้หรือชั้นวาง Jig, แม่พิมพ์ เป็นต้น

- บริเวณที่ห้ามวางสิ่งของตีเส้น สีแดง

ห้ามวางสิ่งของทับเส้นหรือล้ำเส้นทางเดิน ห้ามพนักงานเดินเหยียบเส้นทางเดิน (สีเหลือง)

ขจัดสิ่งของที่ไม่เกี่ยวกับการทำงานให้ออกไปจากพื้นที่บริเวณทำงาน

4.4 เครื่องจักร (เน้นสะอาดและปลอดภัยต่อการทำงาน)

เจ้าหน้าที่ประจำเครื่องเป็นผู้ดูแลทำความสะอาด เช็คถูเครื่องจักรให้สะอาดแลดูใหม่อยู่เสมอ ไม่มีฝุ่น

ไม่มีคราบน้ำมัน ไม่มีสิ่งของแขวนรกรุงรัง สีของเครื่องจักรเป็นสีเขียว จุดที่เคลื่อนไหวและ Guard เป็นสีเหลือง

สายไฟ สายลม เดินให้เรียบร้อย ไม่รุงรังมีป้ายบ่งบอกชื่อเครื่องจักร ชื่อผู้ดูแลรักษา (เจ้าหน้าที่ประจำเครื่อง) หมั่นทำความสะอาด ตรวจตราดูจุดที่จะเป็นสาเหตุที่จะเกิดอันตราย ตรวจระดับน้ำมันเครื่อง ตรวจสอบกำลังลมในตอนเช้าก่อนจะเริ่มปฏิบัติงานทุกวัน

(จุดตรวจเช็คที่จะเป็นสาเหตุให้เกิดอันตรายควรทาสีแดง ให้พนักงานเห็นชัดและเข้าใจ)

4.5 ตู้, ชั้นวางอุปกรณ์, เครื่องมือ, Jig, แม่พิมพ์ (เน้นสะอาดเป็นระเบียบ)

ตู้เก็บอุปกรณ์, เครื่องมือ, ชั้นวาง, Jig, แม่พิมพ์ ต้องสะอาดไม่มีสิ่งของอื่นวางปะปน จัดเก็บเป็นระเบียบมีสัญลักษณ์และขนาดบ่งบอกเพื่อหยิบใช้สะดวก หลังจากเลิกใช้แล้วทำความสะอาดและเก็บเข้าที่เดิมทุกครั้ง และทุก ๆ วัน ควรตรวจเช็คจำนวนดูไม่ให้สูญหาย

4.6 ห้องเก็บของ / กระซับ

ชั้นวางตู้และอื่น ๆ ซึ่งอยู่ภายในห้องจะต้องมีการจัดวางให้เป็นระเบียบและมีป้ายบ่งชี้ให้ชัดเจน ดังนี้

- ต้องมีป้ายบ่งชี้ของชั้นวาง/ตู้ ลำดับที่ชั้น ใช้กระดาษสีขาว

- ชั้นวาง/ตู้ คือชื่อของล็อคชั้นวาง/ตู้ ที่กำหนดขึ้นโดยตัวอักษรภาษาไทย เช่น ก.,ข.,ค…..เป็นต้น

ตำแหน่งที่ติด – ด้านหน้าของชั้นวาง/ตู้

- ลำดับที่-ชั้น คือ ชื่อของชั้นวางที่เรียงลำดับจากบนลงล่าง เช่น ก1 – 1, ก1 – 2, ก2 – 1, ก2 – 2.เป็นต้น

ตำแหน่งที่ติด – ทางมุมซ้าย

- ขนาดของป้าย ดังรูป

- ต้องมีป้ายชื่อผู้รับผิดชอบและแผนกหรือฝ่ายที่รับผิดชอบ ใช้กระดาษสีตามที่เหมาะสม

ขนาดของป้าย - ตามมาตรฐานป้ายชื่อผู้รับผิดชอบตู้ในสำนักงาน

ตำแหน่งที่ติด - ทางมุมขวา

รูปแบบของป้าย - จะเป็นการระบุชื่อหน่วยและชื่อผู้รับผิดชอบ

- ต้องมีป้ายบ่งชี้เอกสารหรือสิ่งของที่วางไว้ในแต่ละจุด ใช้กระดาษสีตามความเหมาะสม

ขนาดของป้าย - กว้าง 2 ซม. X ความยาวตามความเหมาะสม ใช้อักษร Angsana New ขนาด 20 Pt

ตำแหน่งที่ติด - ตรงกลางของชั้นวางแต่ละชั้น

- มี Lay Out ของห้อง ติดไว้ที่หลังประตูด้านในของห้องเพื่อแสดงตำแหน่งของจุดวางชั้น ตู้หรืออื่น ๆ

โดยใช้กระดาษสีตามความเหมาะสม

- สิ่งของที่ระบุในป้ายบ่งชี้จะต้องตรงกับของที่วางอยู่จริง

- เมื่อนำเอกสารหรือสิ่งของที่วางในแต่ละชั้นไปใช้งานแล้ว ต้องนำกลับมาเก็บในที่เดิมและต้องวาง

ให้เป็นระเบียบอยู่เสมอ

4.7 วัตถุดิบ, ชิ้นส่วนในการผลิต, ผลิตภัณฑ์ระหว่างผลิต, ผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป

กำหนดที่วางชิ้นส่วนในการผลิต การเก็บวางเป็นระเบียบปลอดภัยสะดวกง่ายต่อการขนย้าย มีป้ายบ่งบอก

เช่น แผนผังแสดงการควบคุมในการผลิตเป็นต้น ห้ามวางชิ้นส่วนหรือผลิตภัณฑ์ระหว่างผลิต ผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปบนพื้น

ถ้าจำเป็นต้องมีป้ายบ่งบอกหรือขออนุญาตจากหัวหน้าผู้รับผิดชอบ

4.8 ตู้อุปกรณ์ดับเพลิง, ถังดับเพลิง, หัวฉีดและท่อน้ำดับเพลิง (สะอาด, เห็นชัด, หยิบใช้สะดวก)

มีภาชนะวางถังดับเพลิงสูงเหนือจากพื้นโรงงานประมาณ 1 ฟุต หรือติดตั้งแขวนกับผนังโรงงานสูง

ไม่เกิน 1 เมตร กำหนดชื่อผู้ดูแลและมีป้ายบ่งบอกวิธีใช้ หมั่นตรวจดูเกย์ลมและทำความสะอาดเสมอ ห้ามวางสิ่งของ

กีดขวางที่วางถังดับเพลิง, ตู้เก็บหัวฉีดและสายต่อท่อน้ำดับเพลิง

ตัวอย่างตู้อุปกรณ์ดับเพลิงและ CO2

4..9 ไฟฟ้าและแสงสว่าง (มีแสงสว่างเพียงพอได้มาตรฐานของการทำงาน)

ต้องคอยดูแลตู้คอนโทรลไฟฟ้า (Switch Board) ตู้คอนโทรลต่าง ๆ ให้สะอาด ห้ามเก็บวางสิ่งของใน

ตู้คอนโทรลไฟฟ้า (Switch Board) ทำความสะอาดหลอดไฟ พัดลมเป็นครั้งคราว ไม่ให้มีฝุ่นและหยากไย่จับเมื่อมี

หลอดไฟเสียให้แจ้งเปลี่ยนทันที

4.10 ถังขยะ ไม้กวาด ที่ตักผงขยะ

ถังขยะในโรงงานใช้ปี้บสังกะสี (ปี้บสีทินเนอร์ที่หมดแล้ว) หรือถังพลาสติก/ถังขยะ จัดทำเป็น 2 ใบ(ถัง) ดังนี้

- ปี้บ(ถัง)พ่นสีแดง มีอักษรบ่งบอกว่าทิ้งเศษวัสดุติดไฟ

- ปี้บ(ถัง)พ่นสีขาว มีอักษรบ่งบอกว่าทิ้งเศษวัสดุไม่ติดไฟ

ปี๊บ(ถัง)ขยะทั้ง 2 ใบ ทำขาตั้งรองรับ จัดทำที่เก็บไม้กวาดและที่ตักผงขยะและควรอยู่ใกล้กับปี๊บ(ถัง)ขยะ

ตัวอย่างการจัดทำปี๊บ(ถัง)ขยะและที่เก็บเครื่องมือทำความสะอาด

4.11 ระเบียบวินัยในการปฏิบัติงาน

ข้าราชการและลูกจ้างต้องเข้าทำงานและเลิกงานตรงต่อเวลา รักษาเวลาในการประชุม ตรงต่อเวลา

ทั้งเข้าประชุมและเลิกประชุม

ข้าราชการและลูกจ้างเมื่ออยู่ในหน่วยงาน จะต้องสวมเครื่องแบบหรือชุดปฏิบัติงานที่กำหนดให้ด้วย

สภาพเรียบร้อยเป็นระเบียบสะอาดตา ติดบัตรประจำตัวที่หน่วยงานออกให้ ไม่ดัดแปลงเครื่องแบบ เช่นรองเท้าไม่ตัด

หุ้มส้นรองเท้าออก ไม่เหยียบหุ้มส้นรองเท้า (เวลาสวมรองเท้า) หมวกไม่เจาะรูหรือเขียนด้วยสีต่าง ๆ จนดูเลอะสกปรก

ขณะปฏิบัติงานต้องสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันความปลอดภัยในจุดที่หน่วยงานกำหนดให้และปฏิบัติตามขั้นตอนมาตรฐาน

การทำงาน มาตรฐานคุณภาพต่างๆ เป็นต้น

รองเท้าถ้าจำเป็นต้องมาเปลี่ยนในที่ทำงาน ห้ามวางใต้โต๊ะทำงาน ใต้ชั้นวางสิ่งของ หรือในตู้เก็บ

อุปกรณ์ ให้ทำชั้นวางรองเท้าเก็บรวมกัน และกำหนดสถานที่วางให้เป็นระเบียบเรียบร้อย

5. พื้นที่ปฏิบัติงานประเภทคลัง

5.1 มีป้ายชื่อแสดงสถานที่วางของทุกรายการ

5.2 พัสดุ ชิ้นส่วน กล่อง ลัง มีป้ายชื่อแสดงไว้อย่างชัดเจน

5.3 กำหนดบริเวณวางของโดยการใช้เส้น

5.4 กำหนดระดับต่ำสุดและสูงสุดของการเก็บให้เห็นและเข้าใจได้ง่าย

5.5 การจัดเก็บต้องมีลักษณะของการเข้าก่อนออกก่อน (FIFO)

5.6 มีตารางหรือแผนผังเพื่อให้ง่ายต่อการหาและจัดเก็บ

5.7 แสงสว่างต้องมีเพียงพอ

5.8 บริเวณหน้าคลังมีป้ายความปลอดภัย ขนาด 37.5 x 45 ซม.

ตัวอย่างการจัดคลัง

 

ตัวอย่างการจัดบอร์ดกิจกรรม 5ส

ตัวอย่างผังการจัดองค์กร