fdsf
aa


อุโบสถวัดวงศมูลวิหาร โบราณสถาน กลางกรมอู่ทหาเรือ




ประวัติวัดวงศมูลวิหาร

 

        อุโบสถวัดวงศมูลวิหาร เป็นโบราณสถานซึ่งตั้งอยู่ในเขตพื้นที่อู่ทหารเรือธนบุรี กรมอู่ทหารเรือ ได้สร้างขึ้นในสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ (สร้างก่อน พ.ศ.๒๔๐๐) มีรูปแบบสถาปัตยกรรมและศิลปะตกแต่ง ช่วงสมัยรัชการที่ ๓,๔ และ ๕ ผสมผสานกันอย่างงดงาม

        แต่เดิมนั้นพื้นที่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยาตั้งแต่คลองมอญจนถึงคลองวัดระฆัง เป็นพระนิเวศน์เดิมของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ครั้งยังเป็นพระมหากษัตริย์ศึก โดยทรงย้ายมาจากบ้านอัมพวามาตั้งจวนหรือพระนิเวศน์บริเวณปากคลองมอญ เมื่อ พ.ศ.๒๓๑๑ และขยายอาณาเขตไปจนถึง "อู่กำปั่น" (คือบริเวณกรมอู่ทหารเรือในปัจจุบัน) ต่อมาได้พระราชทานพระนิเวศน์แห่งนี้ให้แก่พระราชโอรสและพระบรมวงศานุวงศ์

 

        กระทั่งถึงสมัยที่กรมขุนธิเบศร์บวร พระโอรสในพระสมเด็จพระบวรราชเจ้า มหาเสนานุรักษ์ประทัด ณ พระนิเวศน์เดิมนี้ ได้ทรงสร้างวัดขึ้นหลังวังหรือทางด้านเทิศตะวันตกของพระนิเวศ ระยะเวลาการสร้างยาวนานต่อเนื่อง จึงเป็นเหตุให้ผสมผสานรูปแบบสถาปัตยกรรม และงานศิลปะตกแต่งจากหลายยุคหลายสมัย ต่อมาทรงถวายที่วัดและงานสร้างวัดที่ค้างแด่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๔ ทรงเป็นองค์อุปถัมภ์สร้างวัดต่อ ครั้นเมื่อกรมขุนธิเบศร์บวรสิ้นพระชนม์ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ กรมหมื่นอนันตการฤทธิ์ พระอนุชาต่างมารดาของกรมขุนธิเบศร์บวรประทับ ณ พระนิเวศน์ในลำดับต่อมาและนายกองสร้างวัดต่อ ทั้งพระราชทานนามวัดว่า "วัดวงศมูลวิหาร"

 

        การก่อสร้างแล้วเสร็จใน พ.ศ.๒๔๑๘ โดยได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชการที่ ๕ ต่อมาเมื่อกรมหมื่นอนันตการฤทธิ์สิ้นพระชน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมิได้พระราชทานพระนิเวศน์ให้เจ้านายพระองค์ใดประทับอีก แต่พระราชทานให้เป็นที่ว่าการของ "กรมอู่ทหารเรือ"

 

        ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชการที่ ๖ ได้พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ถอนพระสงฆ์จากวัดวังศมูลวิหารไปสมทบวัดอื่นตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๕๙ เนื่องจากไม่พัฒนาวัดให้เจริญขึ้นได้ ด้วยเหตุที่ตั้งอยู่กลางสถานที่ปฏิบัติงานของทหารเรือ และได้พระราชทานวัดวงศมูลวิหารให้กระทรวงทหารเรือเป็นผู้รักษาไว้ ทั้งยังทรงมอบหมายให้ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิจ เสนาบดีกระทรวงทหารเรือ ในขณะนั้นได้ใช้อุโบสถในการไหว้พระสวดมนต์ และประกอบพิธีทางศาสนา แม้จะไม่มีพระสงฆ์จำพรรษาอยู่ที่วัด อีกทั้งเหลือเพียงอุโบสถหลังเดียวในพื่นที่รายล้อมด้วยหน่วยงานของกรมอู่ทหารเรือ หากแต่กรมอู่ทหารเรือได้ทำนุบำรุง รักษาอุโบสถวัดวงศมูลวิหาร และใช้ประกอบพิธีทางศาสนาที่สำคัญ เสมอมา เช่น การจัดพิธีอุปสมบทให้แก่กำลังพลของกรมอู่ทหาเรือเป็นประจำทุกปี ซึ่งสืบทอดกันมาตั้งแต่ครั้ง พลเรือตรี พระจักรานุกรกิจ (วงษ์ สุจริตกุล) เจ้ากรมอู่ทหารเรือลำดับที่ ๑๔

 

 

Unseen Thailand พระประธานหันตามความยาวของอุโบสถ

 
          เมื่อกรมขุนธิเบศร์บวร ได้ทรงสร้างวัดขึ้นหลังวังหรือทางด้านทิศตะวันตกของพระนิเวศน์นั้น ทิศทางขออุโบสถและพระประธานได้หันหน้าไปทางทิศตะวันออก ซึ่งเป็นทิศทางเดียวกับแม่น้ำเจ้าพระยาเส้นทางสัญจรสายหลัก ตรงตามคติความเชื่อเรื่องการจัดวางผังพระพุทธรูป ที่สืบเนื่องจากพุทธประวัติ คือช่วงที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ได้ประท้บนั่งขัดสมาธิอยู่ใต้ต้นโพธิ์ หันพระพักตร์ไปยังทิศตะวันออกติดกับแม่น้ำเนรัญชวา
        ต่อมากรมขุนธิเบศร์บวรประชวรบ่อยครั้งโดยไม่ทราบสาเหตุ จึงลงความเห็นกันว่าอาจเป็นผลสืบเนื่องมาจาก การสร้างวัดและพระพักตร์ของพระประธานหันไปทางทิศตะวันออก ซึ่งไปตรงกับตำหนักที่ประทับ (บริเวณอู่หมายเลข ๒ อู่ทหารเรือธนบุรี กรมอู่ทหารเรือในปัจจุบัน) จึงเป็นเหตุให้ย้ายพระประธานไปประดิษฐานทางด้านแปตามความยาวของอุโบสถ แล้วดัดแปลงด้านหน้าอุโบสถหันด้านแปตามพระประธาน คือ ทางทิศเหนือ ซึ่งเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของวัดวงศมูลวิหาร

 

 

 

งานพุทธสถาปัตย์และการอนุรักษ์

 


วัดวงศมูลวิหาร เป็นอารามหลวงขั้นตรี ชนิดสามัญ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาให้ใช้อุโบสถทำสังฆกรรมต่างๆ เขตวิสุงคามสีมา
ของวัดวงศมูลวิหารเป็นรูปแบบติดกับตัวโบสถ์ ไม่มีการถอดถอนรูปแบบอุโบสถขนาดกลาง แบบ ๕ ห้อง ตั้งอยู่บนฐานรับเอวขัน
(เอวขัน หมายถึง ฐานอุโบสถที่ตั้งบนฐานรับอีกชั้นหนึ่ง) เอวขันเป็นแบบฐานปัทม์ มีลูกแก้ว มีพะไลแบบระเบียงและมีเฉลียงหน้าเฉลียงหลัง ตามรูปแบบสถาปัตยกรรมสมัยรัชกาลที่ ๔



เมื่อมีการปรับตำแหน่งประดิษฐานพระประธานมาตั้งชิดผนังด้านทิศใต้ เพื่อหันพระพักตร์ไปทางทิศเหนือ ช่วงหน้าต่างตรงช่องกลางด้านนี้ จึงได้แก้ไขให้เป็นประตูทางเข้า รูปแบบซุ้มประตู หน้างต่าง ทำกรอบซุ้มแบบเรือนแก้ว คือ มีการนำดอกไม้มาประดับให้เกิดเป็นซุ้มแบบใบไม้ ดอกไม้ มีทรงเรือนแก้ว แบบศิลปะะตกแต่งสมัยรัชกาลที่ ๓ ผสมผสานกับรูปแบบปูนปั้นสมัยรัชกาลที่ ๔ ที่ได้เปลี่ยนขบวนลายที่ประดับกรอบประตู เป็นลายดอกไม้ อยู่ในวงกรอบแบบเรือนแก้ว เรียกว่า "ลายอย่างเทศ" รูปทรงหลังคาซ้อนสองชั้น หลังคามุงกระเบื้องเคลือบสี มีช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ หน้าบันลายใบเทศปิดทองประดับกระจก

พระประธาน"พระพุทธวงศมูลมิ่งมงคล" (ได้รับพระราชทานนามจากสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เมื่อ พ.ศ.๒๕๕๔) เป็นพระพุทธรูปแบบสมัยรัตนโกสินทร์ปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง ๒.๖๐ เมตร สูงจากทับเกษตรถึงรัศมี ๓.๓๘ เมตร พระพุทธรูปด้านข้าง เป็นพระพุทธรูปปางห้ามพยาธิ และปางห้ามแก่นจันทร์ ประดิษฐานในซุ้มหินอ่อนแบบศิลปะโกธิค (Gothic) ซึ่งเป็นที่นิยมในสถาปัตยกรรมสมัยรัชการที่ ๕

 

 

งานบรณปฏิสังขรณ์อุโบสถวัดวงศมูลวิหาร

 
 

งานหลังคาติดตั้งโครงคร่าวไม้พร้อมมุงสังกะสีเพื่อป้องกันน้ำฝน

รื้อกระเบื้องหลังคาเดิมลงทั้งหมด ทาสีกันปลวก หลบสันหลังคา

บริเวณเชิงชายของหลังคา

งานฉาบปูนภายนอก ภายใน งานลวดลายวงกบเสาหารรอบอุโบสถ

ซ่อมแซมฐานเอวขัน และตรวจสอบราวระเบียงพร้อมลูกกรง

 
 


งานช่อฟ้าใบระกา หางหงส์ รื้อกระจกของเก่าออกทั้งหมด

และงานฝ้าไขราขัด ปรับสภาพพื้นผิวเปลี่ยนไม้ที่แตกหัก


ซ่อมแซมฐานพระพุทธวงศมูลมิ่งมงคล พระพุธรูปองค์ยืนหินอ่อน

ซ่อมแซมฐานองค์พระวิษนุกรรม เปลี่ยนกระเบื้องหินอ่อนที่ชำรุด

วงกบประตูหน้าต่างและพื้นหินอ่อนภายในอุโบสถ

 


งานหน้าบันทั้ง ๒ ด้าน ตรวจสอบซ่อมแซม ซ่อมกระจก

ที่หลุดล่วงแตกหัก ปิดทองขอบหน้าจั่ว

งานลวดลายรดน้ำ ขัดลอกสีวงกบประตูหน้าต่าง ลงสีรองพื้น

ลงรักปิดทองตัวบานประตูหน้าต่าง ปิดทองบริเวณลวดลาย

ที่พิมพ์ลายไว้ปิดทองรดน้ำ และปิดด้วยแผ่นอครีลิคใส

 

งานปูกระเบื้องดินเผารอบอุโบสถ

 

 

 


ความก้าวหน้าในการดำเนินงาน

 

 

 

 


 

แจ้งความประสงค์บริจาคเงิน