พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จพระราชดำเนินมาทรงประกอบพิธีวางกระดูกงูเรือ ต.๙๑ เมื่อวันที่ ๑๒ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๑๐ ณ อธบ.อร.

Release Date : 07-10-2021 00:00:00
พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จพระราชดำเนินมาทรงประกอบพิธีวางกระดูกงูเรือ ต.๙๑ เมื่อวันที่ ๑๒ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๑๐ ณ อธบ.อร.

        พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตรกิจการอู่ต่อเรือ Luirssen Werftเมืองเบรเมน เมื่อวันที่ ๒๓ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๐๓ ซึ่งอู่เรือนี้มีชื่อ

เสียงทางด้านการออกแบบ และชำนาญในการต่อเรือเร็วยามฝั่งโดยเฉพาะมาตั้งแต่ก่อนสงครามโลกครั้งที่ ๒ และยังต่อเรือบรรทุกสินค้าขนาดใหญ่ด้วย ซึ่งบริษัทนี้ได้เคยต่อ "เรือหลวงจันทร" ให้แก่กองทัพเรือไทยมาแล้ว

ในขณะที่เสด็จเยี่ยมชมอู่ต่อเรือ สองพี่น้อง Lurssenคือ Mr.Gerd Lurssen เจ้าของอู่ต่อเรือ และ Mr.Fritz Ottน้องชาย เป็นผู้เฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทกราบบังคมทูลถวายรายงาน พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรเสด็จพระราชดำเนินลงเรือ Kartal P333เพื่อทอดพระเนตรเรือโดยละเอียด

เมื่อเสด็จพระราชดำเนินกลับมายังประเทศไทยแล้ว ได้ทรงมีพระราชปรารภกับกองทัพเรือว่า น่าจะต่อเรือยนต์เร็วรักษาฝั่งเช่นนั้นได้ เพราะในสงครามสมัยนี้ เรือยนต์เร็วรักษาฝั่งมีบทบาทในด้านการปราบปราม ป้องกันการลักลอบลำเลียงอาวุธ และกำลังคนของฝ่ายก่อการร้ายเข้ามาในน่านน้ำอาณาเขตของประเทศ เป็นต้น

กระทรวงกลาโหมจึงได้รับสนองพระราชดำริ และได้สนับสนุนให้กองทัพเรือต่อเรือยนต์รักษาฝั่งขึ้นโดยเร็ว กองทัพเรือจึงมอบหมายให้กรมอู่ทหารเรือเป็นผู้สร้าง โดยใช้งบประมาณพิเศษของกระทรวงกลาโหม ซึ่งวิศวกรที่ออกแบบเรือคือ นาวาเอก วิเชียรปิ่นกุลบุตร (ยศในขณะนั้น)

พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรทรงสนพระราชหฤทัยในการต่อเรือลำนี้เป็นอย่างมาก ทรงติดต่อกับบริษัทLurssen werft ขอให้ส่งวิศวกรมาให้คำปรึกษาแก่กรมอู่ทหารเรือ

ในเดือนตุลาคม พ.ศ. ๒๕๐๙ วิศวกรจากบริษัท Lurssenwerft ชื่อ Friedrich spielmann เข้าพบ นาวาเอก วิเชียรปิ่นกุลบุตร เพื่อให้คำปรึกษาและตรวจดูสิ่งอำนวยความสะดวกในกรมอู่ทหารเรือ หลังจากนั้นได้ให้ข้อคิดเห็นว่า สิ่งอำนวยความสะดวกที่มีอยู่ในกรมอู่ทหารเรือนั้นเพียงพอสำหรับการสร้างเรือลำนี้ และยังให้คำแนะนำว่าการสร้างเรือขนาดความเร็วสูงนั้นจะต้องควบคุมน้ำหนักของอุปกรณ์ทุกชิ้นให้เป็นไปตามการคำนวณให้มากที่สุด และควรเลือกใช้วัสดุที่มีน้ำหนักเบาแต่แข็งแรง

ในวันพุธที่ ๑๒ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๑๐พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรดำเนินไปทรงประกอบพิธีวางกระดูกงูเรือยนต์เร็วรักษาฝั่ง ณ กรมอู่ทหารเรือ และทรงมีพระราชดำรัส

"การป้องกันประเทศทางทะเลเป็นหน้าที่โดยตรงและสำคัญที่สุดของกองทัพเรือ หน้าที่นี้เป็นภาระที่หนักที่ต้องอาศัยทหารซึ่งมีความรู้ความสามารถและเรือรบอันมีคุณภาพดีประกอบพร้อมกันไป บรรดาเรือรบที่ใช้ในราชการเป็นเรือที่สั่งทำจากต่างประเทศการที่ทางราชการกองทัพเรือสามารถเริ่มต่อเรือยนต์รักษาฝั่ง ขึ้นใช้ในราชการได้เช่นนี้ จึงควรจะเป็นที่น่ายินดีและน่าสนับสนุนอย่างยิ่ง นับว่าเป็นความเจริญก้าวหน้าของกองทัพเรือ"

หลังจากพิธีวางกระดูกงูแล้ว กรมอู่ทหารเรือได้ดำเนินการต่อเรือโดยใช้วิธีประกอบชิ้นส่วนล่วงหน้าไว้ที่โรงงานบนบก (Pre-fabrication) แล้วจึงใช้เครนยกลงมาประกอบในอู่ โดยใช้วิธีแล่นประสานด้วยเครื่องกึ่งอัตโนมัติ ทำให้ตะเข็บรอยประสานเรียบร้อยยิ่งขึ้น ซึ่งวิธีนี้สามารถลดน้ำหนักเรือลงได้มากและสามารถค่าแรงงานในการสร้างได้มากถึง ๓๐%ของกองทัพเรือ"