:: ศัพท์ช่างต่อเรือ/ซ่อมเรือ ::
 
 
     
 
กงเรือ (Frame)
   
   
  โครงสร้างทางขวางที่ทำหน้าที่เป็นแผ่นเสริมหรือกันอ่อนให้กับเปลือกเรือ (Shell)
และส่วนท้องเรือ (Hull)
   
 
 
กงเรือ , ระบบ (Framing System)
   
   
  วิธีการหลายๆ อย่างที่ใช้ในการเสริมหรือกันอ่อนให้กับเปลือกเรือด้านข้าง หรือเปลือกท้องเรือ
จากแรงอัดของน้ำ ที่ใช้โดยทั่วไปมี ๒ ชนิด คือ ระบบกงทางขวาง (Transverse) และ
ระบบกงทางยาว (Longitudinal) กับระบบกงผสม (Conbined Framing System) ซึ่งใช้ทั้ง
๒ ระบบร่วมกัน
   
 
 
กงตามยาว , ระบบ (Longitudinal Framing)
   
   
 

ระบบกงที่มักใช้ในเรือบรรทุกน้ำมัน และจะใช้กับเรือที่มีความยาวมากกว่า ๑๙๘ เมตร
กงตามยาวใช้ในด้านข้างของเรือตลอดความยาวของถังเก็บน้ำมัน กงทางขวางด้านข้างและ
ด้านท้องเรือใช้รองรับกงทางยาวจากแรงกดอัดอีกทีหนึ่ง

   
 
 
กระดูกงู (Keel)
   
   
  แผ่นที่วางตัวในแนวราบมีความหนาเพิ่มขึ้นกว่าปกติ อยู่บริเวณเส้นกึ่งกลางลำตลอดความยาว
ของแผ่นท้องเรือ คำนี้อาจหมายรวมถึงโครงสร้างทั้งหมดที่ประกอบกันขึ้นเป็น กระดูกงูแผ่น
(Keel Plate) เกอเดอร์กลางลำ (Central Girder) และแผ่นสเตคกลางลำ (Centerline Strake)
ของท้องเรือสองชั้น
   
 
 
กระดูกงูปีก (Bilge Keel)
   
   
  แผ่นเหล็กที่กางออกไปทำมุมฉากกับส่วนโค้งที่ด้านข้างท้องเรือ และมีขอบเขตความยาวประมาณ
ครึ่งหนึ่งของความยาวเรือ เพื่อช่วยกันโคลง
   
 
 
กระดูกงูแผ่น (Flate Plate Keel)
   
   
  ส่วนกลางของแผ่นท้องเรือ ซึ่งมีความหนาเพิ่มขึ้น เพื่อเพิ่มความแข็งแรง และเผื่อไว้สำหรับการ
กัดกร่อน เนื่องจากบริเวณส่วนนี้มักไม่ได้รับการทาสีขณะเรือนั่งหมอนเข้าอู่แห้ง
   
 
 
กราบขวา (Starboard)
   
   
  ด้านขวาของเรือ เมื่อหันไปทางหัวเรือ
   
 
 
กราบซ้าย (Port)
   
   
  ด้านซ้ายของเรือ เมื่อหันไปทางหัวเรือ
   
 
 
กันกระแทก (Fender)
   
   
  อุปกรณ์หรือวัสดุที่มีการหยุ่นตัว (Resilient) สูง ใช้ในการลดผลจาก แรงกระแทก (Impact)
หรือความเสียหายจากการถูกชน (Chafing Damage) ด้านข้างของเรือ หรือของโครงสร้างลอย
น้ำอื่น ๆ
   
 
 
กันเวล (Gunwale)
   
   
  ขอบบนด้านข้างของเรือ ซึ่งแผ่นเชียร์ (Sheer Strake) มาพบกับแผ่นดาดฟ้า (Deck Plate)
   
 
 
เกอเดอร์ (Girder)
   
   
  ชิ้นส่วนเสริมความแข็งแรงที่ยาวต่อเนื่องจากด้านหัวไปท้ายเรือ เพื่อรองรับ ดาดฟ้า
   
 
 
แกงเวย์ (Girder)
   
   
  ที่ขึ้นลงเรือที่สวิงขึ้นลงได้ (Ram) หรือบันไดที่จัดไว้สำหรับขึ้นลงจากเรือ
   
 
 
เก๋งเรือ (Deck House)
   
   
  โครงสร้างเหนือดาดฟ้าซึ่งไม่ได้มีความกว้างเต็มตลอดความกว้างของตัวเรือ
   
 
 
เก๋งท้ายเรือ (Poop)
   
   
  เก๋งเรือ หรือ ซุปเปอร์สตัคเจอร์ ที่อยู่ด้านท้ายของเรือ ปกติแล้วสั้น ดาดฟ้าด้านท้ายเรือ
บางส่วนอาจถูกเรียกเป็น Poop หรือ Poop Deck
   
 
 
กว้าน (Winch)
   
   
  เครื่องจักรที่ใช้ในการหมุนเชือกหรือลวดสลิงเข้ารน หรือคลายออกจากรน ซึ่งพันอยู่รอบ
ทรงกระบอก (Barrel) ใช้สำหรับยกขนสินค้าหรือใช้ในการ จอดเทียบเรือ
   
 
 
กว้านสมอ (Windlass)
   
   
 

เครื่องจักรกลที่ใช้ในการดึงขึ้น และปล่อยลงของสมอและโซ่

   
 
 
กัดกร่อน (Corrosion)
   
   
 

การเสื่อมสภาพ ของวัสดุที่เกิดจากสิ่งแวดล้อม ถ้าแบ่งตามสาเหตุอาจเกิดจากปฏิกิริยาทางเคมี
ไฟฟ้าเคมี หรือ ทางกล

   
 
 
กัดกร่อนแบบกัลวานิค (Galvanic Corrosion)
   
   
 

เป็นการกัดกร่อนที่เกิดจากปฏิกิริยาทางไฟฟ้าเคมี ซึ่งต้องมีองค์ประกอบสำคัญ ครบ ๓ ประการ คือ
ชิ้นงานโลหะ ๒ ชนิด ที่มีความต่างศักดิ์ ในอนุกรมกัลวานิค มีสารละลายนำไฟฟ้า (Electrolyte)
และมี กระแสไฟฟ้าไหลแบบเซลไฟฟ้า ทำให้โลหะที่เป็นขั้วบวกจะสูญเสีย เนื้อโลหะ สึกกร่อนไป
และจะสามารถป้องกันได้โดยใช้สังกะสีกันกร่อน (Cathodic Protection) หรือกระแสไฟฟ้าบังคับ
(Inpressed Current)

   
 
 
กัดกร่อนในที่อับ (Crevice Corrosion)
   
   
 

เป็นการกัดกร่อนจากปฏิกิริยาทางไฟฟ้าเคมีรูปแบบหนึ่ง ซึ่งเกิดขึ้น ในบริเวณที่อับ เช่น ช่องว่าง
ระหว่างผิวโลหะที่มีของเหลวขัง ผิวด้านใน จะเป็นขั้วบวกและกร่อน เช่นเดียวกับที่เกิดในที่
อับมุมก้นดัง ผิวโลหะ ที่มีตะกอน สาหร่าย หรือแม้แต่เพรียงเกาะ ทำให้ของเหลวที่ไม่มีการไหล
บริเวณนั้นขาดออกซิเจน และทำให้โลหะบริเวณนั้นเป็นขั้วบวกที่จะกัดกร่อน เมื่อเทียบกับบริเวณ
โดยรอบ

   
 
 
กัดกร่อนเป็นหลุม (Pitting Corrosion)
   
   
 

เป็นการกัดกร่อนเฉพาะที่ ที่มีเหตุจากการหลุดล่อน หรือแตกออกของฟิล์มออกไซด์ ทำให้สาร
กัดกร่อนสามารถแทรกตัวเข้าไปตามรอยแตก และสัมผัสกับเนื้อโลหะได้โดยตรง ทำให้เกิด
ปฎิกริยาทางเคมีและไฟฟ้าเคมีขยายตัวลึกลงไปใต้ผิวโลหะจนอาจทะลุได้ อย่างที่เกิดกับ
ท่อเหล็กกล้าไร้สนิมบางชนิดในน้ำทะเล

   
 
 
เครื่องยนต์สันดาปภายใน (Internal Combustion Engine)
   
   
 

เครื่องยนต์ซึ่งการเผาไหม้เกิดขึ้นในกระบอกสูบ และผลจากการเผาไหม้ลูกสูบเคลื่อนที่ได้ในจังหวะการทำงาน

   
 
 
เครื่องยนต์ดีเซล(Diesel Engine)
   
   
 

เครื่องยนต์สันดาปภายในชนิดเคลื่อนที่กลับไปมา (Reciprocating) หรือชนิดลูกสูบ   ซึ่งน้ำมันถูกจุดระเบิดภายหลังที่ถูกฉีดเข้าไปด้วยความร้อนจากอากาศอัดในกระบอกสูบ  อาจใช้น้ำมันหรือแก๊สเป็นเชื้อเพลิงก็ได้

   
 
 
เครื่องสูบ หรือปั้ม (Pump)
   
   
 

เครื่องยนต์ที่จะส่งถ่ายพลังงานให้กับของไหล (Fluid) โดยทั่วไปแล้วเพื่อให้เกิดการไหลภายใต้ความดัน  เครื่องแบบนี้จะถูกแบ่งประเภท ตามวิธีทำงานโดยแบบทดแทนปริมาตร  (Displaeement)

   
 
 
เครื่องสูบหมุนเวียน(Circulating Pump)
   
   
 

เครื่องสูบแบบแรงเหวี่ยงหรือแบบไหลตามแนวแกน  ซึ่งจ่ายน้ำปริมาณมากให้แก่ระบบ ปกติใช้กับระบบระบายความร้อน (Cooling System) ตัวอย่างเช่น ระบบสูบน้ำเลี้ยงเสื้อสูบ(Jacket Circulation Pump) ระบบสูบน้ำทะเลหมุนเวียน (Sea Water Circulation Pump)

   
 
 
เครื่องรูปแบบ แรงเหวี่ยง (CantriFugal Pump)
   
   
 

เครื่องสูบซึ่งของเหลวไหลเข้าตรงกลางของใบพัดหมุน แล้วถูกเหวี่ยงออกตามแนวรัศมีของใบ หลังจากนั้นดิฟิวเซอร์ (Diffuser or Volute) จะเปลี่ยนพลังงานจลของของไหล เช่น ความดัน เครื่องสูบแบบนี้ ล่อน้ำ (Priming) เองไม่ได้

   
 
 
เครื่องสูบแบบไหลตามแนวแกน (Axial Flow Pump)
   
   
 

เครื่องสูบที่มีใบพัดรูปใบจักรอยู่ในท่อ ซึ่งจะให้ปริมาณการไหลมากที่ความดันต่ำและมักใช้ในการหมุนเวียนน้ำของเครื่องควบแน่น (Condenser) ในเครื่องจักรกังหันไอน้ำ

   
 
 
เครื่องสูบแบบทดแทนปริมาตร (Displacement Pump )
   
   
 

เครื่องสูบที่ทำงานโดยการลดหรือเพิ่มปริมาตรของช่องว่างโดยกริยาทางกล  ซึ่งจะทำให้เกิดผลในการเคลื่อนที่ของของเหลวหรือแก๊ส

   
 
 
เครื่องอัด (Compressor)
   
   
 

เครื่องจักรที่ใช้อัดแก๊ส โดยการลดปริมาตร และเพิ่มความดัน

   
 
 
เครื่องอัดอากาศ (Air Compressor)
   
   
 

เครื่องจักรที่จ่ายอากาศที่ถูกอัดตัวและเย็น  โดยจะถูกส่งไปเก็บในถัง

   
 
 
เครื่องปรับอากาศ (Air Condition)
   
   
 

เครื่องจักรที่ใช้ควบคุมอุณหภูมิและความชื้นของอากาศในบริเวณหนึ่งพร้อมกับจัดให้มีการหมุ่นเวียน การกรองและการเติมอากาศบริสุทธิ์

   
 
 
เครื่องระบายความร้อนอากาศ (Air Cooler )
   
   
 

เครื่องแลกเปลี่ยนความร้อนเพื่อทำให้อากาศเย็นลงและมีความหนาแน่นเพิ่มขึ้น  ก่อนเข้าไปเผาไหม้ในเครื่องยนต์ ถ้าเป็นชนิดหลอดมีครีบ (Finned Tube) จะมีน้ำทะเลผ่านในหลอด และปล่อยอากาศไหลผ่านผิวนอกหลอด

   
 
 
เครื่องดูดความชื้น (Air Dryer)
   
   
 

อุปกรณ์ที่ใช้ดึงความชื้นออกจากอากาศ (Intrument Are) อาจใช้สารเคมีดูด (Destccant ) หรือ ให้กลั่นตัวจากความเย็น (Refrigerant Drier) ก็ได้

   
 
 
เครื่องทำความเย็น (Refrigerator)
   
   
 

เครื่องจักรที่ทำให้ ที่ว่าง หรือ ของที่บรรจุภายใน มีอุณหภูมิต่ำลงกว่าสิ่งแวดล้อม

   
 
 
อู่เรือ (Dock)
   
   
 

สถานที่ ซึ่งเรือสามารถจอดผูก  หรือผูกกับที่ อู่แห้งหรืออู่ขูด (Dry or Grave Dock) สามารถสูบน้ำออกและซ่อมทำตัวเรือใต้แนวน้ำได้  อู่เปียก (Wet Dock) คือพื้นที่ท่าเรือที่มีการกำลังการไหลของน้ำโดยประตูล๊อค (Lock Gate) อู่ลอย (float nig Dock) คือโครงสร้างรับที่สามารถทำให้จมลงไปได้  ซึ่งเรือสามารถเข้าไปและสูบน้ำยกเรือขึ้นพ้นน้ำเพื่อทำการซ่อมทำและบำรุงรักษา คานเรือ (Marinl Raifuay ) คือระบบเชิงกล     ในการยกเรือขึ้นจากน้ำทำงานในระบบเอียงประกอบด้วยแค่ร์รับเรือ ซึ่งจะถูกปล่อยตามทางลาดลงไปในน้ำลิฟต์ยกเรือ (Ship lifto) ที่แท่นยกเรือวางในแนวราย และอุปกรณ์ ในการยกเรือและแท่นให้พ้นจากน้ำมนแนวดิ่ง เช่น โซ่สลิง หรืออุปกรณ์ไฮดรอลิก

   
 
 
อู่ ผังเรือเข้า (Docking Plan)
   
   
 

ภาพหน้าติดตามยาวของเรือ เพื่อแสดง ฝากั้นตามขวาง บริเวณห้องเครื่องจักร และท่อต่อกับน้ำทะเล นอกจากนั้น ยังแสดงหน้าติดตามขวางที่จุดต่าง ๆ แสดงรูปร่างของท้องเรือเพื่อใช้ในการเตรียมวางหมอนรองรูปร่างที่เหมาะสมใช้รองรับเรือขณะที่เข้าอู่แห้ง

   
 
 
อู่ , การตรวจเรือเข้า(Docking Survey)
   
   
 

การสำรวจเรือในอู่แห้งหรือบนคานเรือ สมาคมจัดชั้นเรือส่วนใหญ่       มีความต้องการให้สำรวจเรือ ตามระยะเวลาหรืออายุการใช้งานของเรือ